วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิปัสสนากรรมฐาน คืออะไร ?

        ความหมายของวิปัสสนากรรมฐาน หากว่ากันอย่างง่ายๆ ก็คือ “การรู้จักตนเอง” ซึ่งตรงกับคำกล่าวของโสเครติสที่ว่า Know Thyself” พระพุทธองค์ทรงค้นพบว่า มนุษย์เราสามารถพ้นทุกข์ทั้งปวงทั้งสิ้นได้เมื่อเราได้เห็นสัจธรรมแห่งชีวิตอันแท้จริง นี่เป็นความเข้าใจอันลึกซึ้ง ซึ่งหมายถึง ความสุขของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าจากโลกภายนอก เราเพียงแค่ต้องรู้จักตนเองให้ชัดแจ้ง (แต่ในทางปรมัตถ์ การรู้จักตนเองเพื่อให้ความเข้าใจที่แท้ว่า ทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดที่คงที่ ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ดังคำที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้)
    วิปัสสนากรรมฐานตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานของหลักของเหตุและผล เป็นวิธีการที่จะทำจิตให้บริสุทธิ์ ให้ปราศจากสิ่งปรุงแต่ง หรือตัวแปรต่างๆ ที่มากระทบจิตซึ่งทำให้เกิดความเครียด ความทุกข์ อันเป็นเทคนิคในการจัดการกับจิตโดยที่เราไม่ต้องพึ่งพาอำนาจ หรือการวิงวอนใดๆ จากพระเจ้า, วิญญาณ หรือจากพลังภายนอก วิปัสสนาใช้เพียงแค่ความเพียรพยายามของตนเท่านั้น
        วิปัสสนาเป็นความเข้าใจอันลึกซึ้ง ที่ตัดผ่านความเข้าใจทั่วๆ ไป เพื่อให้เข้าใจสภาพของจิต และให้เห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง ว่าไม่เที่ยงแท้, เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน. การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะค่อยๆ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ เป็นการขจัดความยึดมั่นถือมั่นในทุกสิ่ง เมื่อความยึดมั่นถือมั่นหมดไป ความทะยานอยาก และความไม่รู้ก็จะค่อยๆ ลดลงไป พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียกชื่อกิเลสทั้งสองตัวนี้ว่า ตัณหา และอวิชชา ซึ่งเป็นรากฐานของความทุกข์ทั้งปวง. เมื่อกิเลสทั้งสองนี้ถูกขจัดสิ้นไป จิตก็จะสัมผัสเข้าถึงความเที่ยงแท้ที่เหนือโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งนั้นมีสภาพเป็นอมตะ เป็นโลกุตตรธรรม ซึ่งเรียกว่า “พระนิพพาน” ตามรากศัพท์ในภาษาบาลี
       วิปัสสนากรรมฐานเน้นการตั้งสติอยู่กับปัจจุบันขณะ ต้องอยู่กับอารมณ์ปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็คือการเฝ้าดู เฝ้าสังเกตระลึกรู้ร่างกาย (รูป) และจิตใจ (นาม) อย่างมีสติ
         คำว่า "วิปัสสนา" แยกออกได้เป็น ๒ ส่วน คำว่า "วิ" นั้น มีหลายความหมาย หนึ่งในนั้นหมายถึง "ผ่าน" หมายเอาได้ว่า การเข้าถึงวิปัสสนาสามารถตัดผ่านม่านลวงตาที่อยู่ในจิตใจได้ นอกจากนี้ "วิ" ยังมีความหมายว่า "แจ้ง" อธิบายได้ว่า เป็นรูปแบบของการเห็นแจ้งแยกแยะองค์ประกอบได้อย่างเด็ดขาด แนวคิดของการแยกแยะในที่นี้ ความเห็นแจ้งทำหน้าที่คล้ายมีดผ่าตัดทางจิต เป็นการแยกแยะให้จิตเห็นความแตกต่างระหว่างความจริงแบบโลกิยะ กับโลกุตตระ ส่วนคำว่า “ปัสสนา” นั้นหมายถึง การเห็น, การรับรู้ เมื่อนำทั้งสองมารวมผสานกันเข้า ก็จะหมายถึง “การเห็นวิเศษ” “การเห็นแจ้ง” “การหยั่งรู้วิเศษ” “การรู้แจ้ง” เป็นการเห็นอย่างลึกซึ้ง หรือความรู้เห็นที่มีพลัง มีประสิทธิภาพ ที่เข้าใจได้ทันที ซึ่งเป็นความเข้าใจอันลึกซึ้งที่ต้องได้พบเจอจากการปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่เกี่ยวกับการคิดหาเหตุผลเอาเองใดๆ ทั้งสิ้น



สติปัฏฐาน ๔


สติปัฏฐาน ๔ (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความ เป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน — Satipaññhàna: foundations of mindfulness)

๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็น แต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา — Kàyànupassanà-~ : contemplation of the body; mindfulness as regards the body) ท่านจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ ๑ อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ ๑ สัมปชัญญะ สร้าง สัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง ๑ ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอัน ไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสัก ว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะ เวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น ๑
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา — Vedanànupassanà-~ : contemplation of feelings; mindfulness as regards feelings) คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนาอันเป็น สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่ เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา — Cittànupassanà-~ : contemplation of mind; mindfulness as regards mental conditions) คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่ มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็น สมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่ เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา — Dhammànupassanà-~ : contemplation of mindobjects; mindfulness as regards ideas) คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจจ์ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตน หรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ.

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

สัมมัปปธาน ๔

ปธาน ๔ (ความเพียร — Padhàna: effort; exertion)

๑. สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น — Sa§vara-padhàna: the effort to prevent; effort to avoid)
๒. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว — Pahàna-padhàna: the effort to abandon; effort to overcome)
๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี ขึ้น — Bhàvanà-padhàna: the effort to develop)
๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้ เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ — Anurakkhanà-padhàna: the effort to maintain) ปธาน ๔ นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปปธาน ๔ (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่ — Sammappadhàna: right exertions; great or perfect efforts)

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

อิทธิบาท ๔

อิทธิบาท ๔ (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่ มุ่งหมาย — Iddhipàda: path of accomplishment; basis for success)

๑. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะ ทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป — Chanda: will; zeal; aspiration)
๒. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ท้อถอย — Viriya: energy; effort; exertion; perseverance)
๓. จิตตะ (ความคิดมุ่งไป คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ — Citta: thoughtfulness; active thought; dedication)
๔. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหา เหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น — Vãma§sà: investigation; examination; reasoning; testing)

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

อินทรีย์ ๕

อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน — Indriya: controlling faculty)

๑. สัทธา (ความเชื่อ — Saddhà: confidence)
๒. วิริยะ (ความเพียร — Viriya: energy; effort)
๓. สติ (ความระลึกได้ — Sati: mindfulness)
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น — Samàdhi: concentration)
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด — Pa¤¤à: wisdom; understanding) หมวดธรรมนี้เรียกอย่างหนึ่งว่า พละ ๕ ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลัง ทำให้ เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ ส่วนที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความ หลงตามลำดับ

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

โพชฌงค์ ๗

โพชฌงค์ ๗ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ — Bojjhaïga: enlightenment factors)

๑. สติ (ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง — Sati: mindfulness)
๒. ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่องสืบค้นธรรม — Dhammavicaya: truth investigation)
๓. วิริยะ (ความเพียร — Viriya: effort; energy)
๔. ปีติ (ความอิ่มใจ — Pãti: zest; rapture)
๕. ปัสสัทธิ (ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ — Passaddhi: tranquillity; calmness)
๖. สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์ — Samàdhi: concentration)
๗. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง — Upekkhà: equanimity) แต่ละข้อเรียกเต็ม มี สัมโพชฌงค์ ต่อท้ายเป็น สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น.

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

มรรคมีองค์ ๘

อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์แปดประการ อันประเสริฐ” — Aññhaïgika-magga: the Noble Eightfold Path); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Sammàdiññhi: Right View; Right Understanding)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์ —Sammàsaïkappa: Right Thought) ดู กุศลวิตก ๓
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ — Sammàvàcà: Right Speech)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ — Sammàkammanta: Right Action)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Sammà-àjãva: Right Livelihood)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ — Sammàvàyàma: Right Effort)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ — Sammàsati: Right Mindfulness)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ — Sammàsamàdhi: Right Concentration)

      องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓, , ๕ เป็น ศีล ข้อ ๖, , ๘ เป็นสมาธิ ข้อ ๑, ๒ เป็น ปัญญา ดูสิกขา ๓; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
       มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นอริยสัจจ์ ข้อที่ ๔ และได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า “ทางสายกลาง” เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา–เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต — Pa¤ca-khandha: the Five Groups of Existence; Five Aggregates)

. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ — Råpakhandha: corporeality)
. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์, ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ — Vedanà-khandha: feeling; sensation)
. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้นๆ ได้, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น — Sa¤¤à-khandha:perception)
. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศลอกุศล อัพยากฤต — Saïkhàra-khandha: mental formations; volitional activities)
. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ ๖ — Vi¤¤àõa-khandha: consciousness)

        ขันธ์ ๕ นี้ ย่อลงมาเป็น ๒ คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป, ๔ ขันธ์นอกนั้นเป็นนาม.  อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม ๔: วิญญาณขันธ์เป็น จิต, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น เจตสิก, รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ ๕

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

อายตนะ ๑๒

อายตนะ ๑๒ (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้, แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้ — âyatana: sense-fields; sense-spheres)

. จักขุ (จักษุ, ตา — Cakkhu: the eye)
. โสตะ (หู — Sota: the ear)
. ฆานะ (จมูก — Ghàna: the nose)
. ชิวหา (ลิ้น — Jivhà: the tongue)
. กาย (กาย — Kàya: the body)
. มโน (ใจ — Mana: the mind)
ทั้ง ๖ นี้ เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ ๖ เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุ เป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น
. รูปะ (รูป, สิ่งที่เห็น หรือ วัณณะ คือสี — Råpa: form; visible objects)
. สัททะ (เสียง — Sadda: sound)
. คันธะ (กลิ่น — Gandha: smell; odour)
๑๐. รสะ (รส — Rasa: taste)
๑๑. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย — Phoññhabba: touch; tangible objects)
๑๒. ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด — Dhamma: mindobjects)

ทั้ง ๖ นี้ เรียกทั่วไปว่า อามรณ์ ๖ คือ เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดเหนี่ยว

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ธาตุ ๑๘

ธาตุ ๑๘ (สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ — Dhàtu: elements)

. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท — Cakkhu-dhàtu: eye element)
. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์ — Råpa~: visible-data element)
. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ — Cakkhuvi¤¤àõa~: eye-consciousness element)
. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท — Sota~: ear element)
. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์ — Sadda~: sound element)
. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ — Sotavi¤¤àõa~: ear-consciousness element)
. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท — Ghàna~: nose element)
. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์ — Gandha~: odour element)
. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ — Ghànavi¤¤àõa~: nose-consciousness element)
๑๐. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท — Jivhà~: tongue element)
๑๑. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์ — Rasa~: flavour element)
๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ — Jivhàvi¤¤àõa~: tongue-consciousness element)
๑๓. กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท — Kàya~: body element)
๑๔. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ — Phoññhabba~: tangible-data element)
๑๕. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ — Kàyavi¤¤àõa~: body-consciousness element)
๑๖. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน — Mano~: mind element)
๑๗. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์ — Dhamma~: mental-data element)
๑๘. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ — Manovi¤¤àõa~: mind-consciousness element)

ข้อควรสังเกต
ก. ข้อ ๓, , , ๑๒, ๑๕ ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต รวมเป็นจิต = ๑๐
ข. ข้อ ๑๖ มโนธาตุ ได้แก่ สัมปฏิจฉนะ ๒ กับปัญจทวาราวัชชนะ ๑ รวมเป็นจิต = ๓
ค. ข้อ ๑๘ มโนวิญญาณธาตุ ได้แก่ จิตนอกเหนือจากนั้นอีก = ๗๖
รวมเป็นจิตทั้งสิ้น = ๘๙

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

อินทรีย์ ๒๒

อินทรีย์ ๒๒ (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น — Indriya: faculties)

หมวดที่ ๑
. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์ คือ จักขุปสาท — Cakkhundriya: eye-faculty)
. โสตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสตปสาท — Sotindriya: ear-faculty)
. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ฆานปสาท — Ghànindriya: nose-faculty)
. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท — Jivhindriya: tongue-faculty)
. กายินทรีย์ (อินทรีย์ คือ กายปสาท — Kàyindriya: body-faculty)
. มนินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ใจ ได้แก่ จิต ที่จำแนกเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ก็ตาม — Manindriya: mind-faculty)

หมวดที่ ๒
. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ — Itthindriya: femininity faculty)
. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ — Purisindriya: masculinity faculty; virility)
. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชีวิต — Jãvitindriya: life faculty; vitality)

หมวดที่ ๓
๑๐. สุขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สุขเวทนา — Sukhindriya: bodily-pleasure faculty)
๑๑. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา — Dukkhindriya: bodily-pain faculty)
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา — Somanassindriya: joy faculty)
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา — Domanassindriya: grief faculty)
๑๔. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา — Upekkhindriya: indifference faculty)

หมวดที่ ๔
๑๕. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ศรัทธา — Saddhindriya: faith faculty)
๑๖. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์ คือ วิริยะ — Viriyindriya: energy faculty)
๑๗. สตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สติ — Satindriya: mindfulness faculty)
๑๘. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตา — Samàdhindriya: concentration faculty)
๑๙. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา — Pa¤¤indriya: wisdom faculty)

หมวดที่ ๕
๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรมที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ — Ana¤¤àta¤¤assàmãtindriya: ‘I shall come to know the unknown’ faculty, i.e. knowledge of the Stream-Entry Path.)
๒๑. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ ๖ ในท่ามกลาง คือ โสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ — A¤¤indriya: perfect-knowledge faculty, i.e. knowledge of the six intermediate Paths and Fruitions)
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ — A¤¤àtàvindriya: perfect-knower faculty, i.e. knowledge ofthe Fruition of Arahantship)

         อินทรีย์ ๒๒ นี้ ที่มาในพระสูตร มีกระจายอยู่เป็นหมวดๆ ในที่หลายแห่ง ไม่ครบทั้ง ๒๒ ในที่
เดียวกัน เฉพาะที่มาสำคัญได้แก่ อินทรียสังยุตต์ ส่วนที่มาในพระอภิธรรม และปกรณ์พิเศษภายหลัง มี วิสุทธิมัคค์ และ อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น มีคำอธิบายโดยพิสดาร

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

อริยสัจจ์ ๔

อริยสัจจ์ ๔ (ความจริงอันประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ — Ariyasacca: The Four Noble Truths)

. ทุกข์ (ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก, สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสาร และความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง, ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ — Dukkha: suffering; unsatisfactoriness)
. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา — Dukkha-samudaya: the cause of suffering; origin of suffering)
. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป, ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกย้อม ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือ นิพพาน — Dukkha-nirodha: the cessation of suffering; extinction of suffering)
. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า “ทางสายกลาง” มรรคมีองค์ ๘ นี้ สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา — Dukkha-nirodhagàminã pañipadà: the path leading to the cessation of suffering)



         อริยสัจจ์ ๔ นี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (Dukkha, Samudaya, Nirodha, Magga); การแสดงอริยสัจจ์ ๔ นี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามุกกังสิกาธรรมเทศนา แปลตามอรรถกถาว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงหยิบยกขึ้นถือเอาไว้ด้วยพระองค์เอง คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (=ตรัสรู้เอง) ไม่สาธารณะแก่ผู้อื่น (แต่ตามที่อธิบายกันมา มักแปลว่า “พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่ต้องปรารภคำถามหรือการทูลขอร้องของผู้ฟัง อย่างการแสดงธรรมเรื่องอื่นๆ”; ความจริง จะแปลว่า “พระธรรมเทศนาขั้นสุดยอด” ก็ได้ ซึ่งสมกับเป็นเรื่องที่ทรงแสดงท้ายสุดต่อจาก อนุปุพพิกถา ๕ คำแปลอย่างหลังนี้ พึงเทียบ องฺ.ทสก.๒๔/๙๕/๒๐๘)

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ ๑๒ (การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น — Pañicca-samuppàda: the Dependent Origination; conditioned arising)

๑.–๒. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี (Dependent on Ignorance arise Kamma-Formations.)
๓.  สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี (Dependent on Kamma-Farmations arises Consciousness.)
๔. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี (Dependent on Consciousness arise Mind and Matter.)
๕.   นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี (Dependent on Mind and Matter arise the Six Sense-Bases.)
๖.  สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี (Dependent on the Six Sense-Bases arises Contact.)
๗.  ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา จึงมี (Dependent on Contact arises Feeling.)
๘.   เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี (Dependent on Feeling arises Craving.)
๙.   ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี (Dependent on Craving arises Clinging.)
๑๐.  อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี (Dependent on Clinging arises Becoming.)
๑๑.   ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี (Dependent on Becoming arises Birth.)
๑๒.  ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี (Dependent on Birth arise Decay and Death.)
         โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
         ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม
         (There also arise sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)
         เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ.
         ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
         (Thus arises this whole mass of suffering.)
         แสดงตามลำดับ จากต้นไปหาปลายอย่างนี้ เรียกว่า อนุโลมเทศนา (teaching in forward order) ถ้าแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น ว่า ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา (teaching in backward order)
         องค์ (factors) หรือหัวข้อ ๑๒ นั้น มีความหมายโดยสังเขป ดังนี้
๑.    อวิชชา (Avijjà: ignorance) ความไม่รู้ คือไม่รู้ในอริยสัจจ์ ๔ หรือตามนัยอภิธรรมว่า อวิชชา ๘
๒.     สังขาร (Saïkhàra: kamma-formations) สภาพที่ปรุงแต่ง ได้แก่ สังขาร ๓ หรือ อภิสังขาร ๓
๓.     วิญญาณ (Vi¤¤àõa: consciousness) ความรู้แจ้งอารมณ์ ได้แก่ วิญญาณ ๖
๔.    นามรูป (Nàma-råpa: mind and matter) นามและรูป ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ หรือตามนัยอภิธรรมว่า นามขันธ์ ๓ + รูป ขันธ์ ๕ (ข้อ ๒, , ๔); รูป ๒๑, ๒๘; มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔; อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป ๒๔; รูป ๒๒
๕.      สฬายตนะ (Saëàyatana: six sense-bases) อายตนะ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖
๖.      ผัสสะ (Phassa: contact) ความกระทบ, ความประจวบ ได้แก่ สัมผัส ๖
๗.     เวทนา (Vedanà: feeling) ความเสวยอารมณ์ ได้แก่ เวทนา ๖
๘.     ตัณหา (Taõhà: craving) ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น (ตัณหา ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสทางกาย และในธรรมารมณ์) ดู ตัณหา ๓ ด้วย
๙.      อุปาทาน (Upàdàna: clinging; attachment) ความยึดมั่น ได้แก่ อุปาทาน ๔
๑๐.    ภพ (Bhava: becoming) ภาวะชีวิต ได้แก่ ภพ ๓ อีกนัยหนึ่งว่า ได้แก่ กรรมภพ (ภพคือกรรม —active process of becoming ตรงกับ อภิสังขาร ๓ ) กับ อุปปัตติภพ (ภพคือที่อุบัติ — rebirth-process of becoming ตรงกับ ภพ ๓ )
๑๑.    ชาติ (Jàti: birth) ความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะ
๑๒.   ชรามรณะ (Jarà-maraõa: decay and death) ความแก่และความตาย ได้แก่ ชรา (ความเสื่อมอายุ, ความหง่อมอินทรีย์) กับมรณะ (ความสลายแห่งขันธ์, ความขาดชีวิตินทรีย์)
         ทั้ง ๑๒ ข้อ เป็นปัจจัยต่อเนื่องกันไป หมุนเวียนเป็นวงจร ไม่มีต้นไม่มีปลาย เรียกว่า ภวจักร (วงล้อหรือวงจรแห่งภพ — Bhava-cakka: wheel of existence) และมีข้อควรทราบเกี่ยวกับภวจักรอีกดังนี้
         ก. อัทธา ๓ (Addhà: periods; times) คือ กาล ๓ ได้แก่
               ๑) อดีต = อวิชชา สังขาร
               ๒) ปัจจุบัน = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
               ๓) อนาคต = ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)
         ข. สังเขป หรือ สังคหะ ๔ (Saïkhepa or Saïgaha: sections; divisions) คือ ช่วง หมวด หรือ กลุ่ม ๔ ได้แก่
               ๑) อดีตเหตุ = อวิชชา สังขาร
               ๒) ปัจจุบันผล = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
               ๓) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหา อุปาทาน ภพ
               ๔) อนาคตผล = ชาติ ชรามรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)
         ค. สนธิ ๓ (Sandhi: links; connection) คือ ขั้วต่อ ระหว่างสังเขปหรือช่วงทั้ง ๔ ได้แก่
               ๑) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล
               ๒) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ
               ๓) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล
         ง. วัฏฏะ ๓ หรือ ไตรวัฏฏ์ (วน, วงเวียน, องค์ประกอบที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของภวจักร หรือสังสารจักร Vañña: the triple round; cycle)
            ๑) กิเลสวัฏฏ์ (วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน — Kilesa-vañña: round of defilements)
             ๒) กรรมวัฏฏ์ (วงจรกรรม ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ — Kamma-vañña: round of kamma)
              ๓) วิปากวัฏฏ์ (วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น — Vipàka-vañña: round of results) สามอย่างนี้ ประกอบเข้าเป็นวงจรใหญ่แห่งปัจจยาการ เรียกว่า ภวจักร หรือ สังสารจักร ตามหลักปฏิจจสมุปบาท 
         จ. อาการ ๒๐ (âkàra: modes; spokes; qualities) คือ องค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ (causes) และส่วนผล (effects) ได้แก่
               ๑) อดีตเหตุ ๕ = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
               ๒) ปัจจุบันผล ๕ = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
               ๓) ปัจจุบันเหตุ ๕ = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
               ๔) อนาคตผล ๕ = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
               อาการ ๒๐ นี้ ก็คือ หัวข้อที่กระจายให้เต็ม ในทุกช่วงของสังเขป ๔ นั่นเอง
         ฉ. มูล ๒ (Måla: roots) คือ กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่
               ๑) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึงเวทนาในช่วงปัจจุบัน
               ๒) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึงชรามรณะในช่วงอนาคต พึงสังเกตด้วยว่า การกล่าวถึงส่วนประกอบของภวจักรตามข้อ ก. ถึง ฉ. นี้ เป็นคำอธิบายในคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น
         การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท ให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบายอริยสัจจ์ข้อที่ ๒ (สมุทัยสัจจ์) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาทที่แสดงแบบนี้ เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท (direct Dependent Origination)
         การแสดงในทางตรงข้ามกับข้างต้นนี้ เป็น นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้อธิบายอริยสัจจ์ข้อที่ ๓ (นิโรธสัจจ์) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท (reverse Dependent Origination ซึ่งความจริงก็คือ Dependent Extinction นั่นเอง) แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลายสืบทอดกันไป ตัวบทของปฏิจจสมุปบาทแบบปฏิโลมนี้ พึงเทียบจากแบบอนุโลมนั่นเอง เช่น
      ๑.–๒. อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ(Through the total fading away and cessation of ignorance, cease kammaformations.)
        ๓. สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ (Through the cessation of kamma-formations, ceases consciousness.) ฯลฯ
      ๑๒. ชาตินิโรธา ชรามรณํ เพราะชาติดับ ชรามรณะ (จึงดับ) (Through the cessation of birth, cease decay and death.)
         โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
         ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
         (Also cease sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)
         เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ.
         ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
         (Thus comes about the cessation of this whole mass of suffering.)
         นี้เป็น อนุโลมเทศนา ของปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ส่วน ปฏิโลมเทศนา ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรา มรณะ เป็นต้น ดับ เพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ อย่างเดียวกับในอนุโลมปฏิจจสมุปบาท


       ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย — Idappaccayatà: specific conditionality) ธรรมนิยาม (ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ — Dhammaniyàma: orderliness of nature; natural law) และ ปัจจยาการ (อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน — Paccayàkàra: mode of conditionality; structure of conditions) เฉพาะชื่อหลังนี้เป็นคำที่นิยมใช้ในคัมภีร์อภิธรรม และคัมภีร์รุ่นอรรถกถา.

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)