ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์
(กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม
ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา–เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต
— Pa¤ca-khandha: the Five Groups of Existence; Five Aggregates)
๑. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป,
ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด,
สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ — Råpakhandha: corporeality)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์,
ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ — Vedanà-khandha: feeling; sensation)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้นๆ
ได้, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า
ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น — Sa¤¤à-khandha:perception)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง,
สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ
ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศลอกุศล อัพยากฤต — Saïkhàra-khandha: mental formations;
volitional activities)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์,
ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่
วิญญาณ ๖ — Vi¤¤àõa-khandha:
consciousness)
ขันธ์ ๕ นี้ ย่อลงมาเป็น ๒ คือ นาม
และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป,
๔ ขันธ์นอกนั้นเป็นนาม. อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม ๔: วิญญาณขันธ์เป็น จิต,
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น เจตสิก, รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ ๕
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น