วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อินทรีย์ ๒๒

อินทรีย์ ๒๒ (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น — Indriya: faculties)

หมวดที่ ๑
. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์ คือ จักขุปสาท — Cakkhundriya: eye-faculty)
. โสตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสตปสาท — Sotindriya: ear-faculty)
. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ฆานปสาท — Ghànindriya: nose-faculty)
. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท — Jivhindriya: tongue-faculty)
. กายินทรีย์ (อินทรีย์ คือ กายปสาท — Kàyindriya: body-faculty)
. มนินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ใจ ได้แก่ จิต ที่จำแนกเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ก็ตาม — Manindriya: mind-faculty)

หมวดที่ ๒
. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ — Itthindriya: femininity faculty)
. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ — Purisindriya: masculinity faculty; virility)
. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชีวิต — Jãvitindriya: life faculty; vitality)

หมวดที่ ๓
๑๐. สุขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สุขเวทนา — Sukhindriya: bodily-pleasure faculty)
๑๑. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา — Dukkhindriya: bodily-pain faculty)
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา — Somanassindriya: joy faculty)
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา — Domanassindriya: grief faculty)
๑๔. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา — Upekkhindriya: indifference faculty)

หมวดที่ ๔
๑๕. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ศรัทธา — Saddhindriya: faith faculty)
๑๖. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์ คือ วิริยะ — Viriyindriya: energy faculty)
๑๗. สตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สติ — Satindriya: mindfulness faculty)
๑๘. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตา — Samàdhindriya: concentration faculty)
๑๙. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา — Pa¤¤indriya: wisdom faculty)

หมวดที่ ๕
๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรมที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ — Ana¤¤àta¤¤assàmãtindriya: ‘I shall come to know the unknown’ faculty, i.e. knowledge of the Stream-Entry Path.)
๒๑. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ ๖ ในท่ามกลาง คือ โสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ — A¤¤indriya: perfect-knowledge faculty, i.e. knowledge of the six intermediate Paths and Fruitions)
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ — A¤¤àtàvindriya: perfect-knower faculty, i.e. knowledge ofthe Fruition of Arahantship)

         อินทรีย์ ๒๒ นี้ ที่มาในพระสูตร มีกระจายอยู่เป็นหมวดๆ ในที่หลายแห่ง ไม่ครบทั้ง ๒๒ ในที่
เดียวกัน เฉพาะที่มาสำคัญได้แก่ อินทรียสังยุตต์ ส่วนที่มาในพระอภิธรรม และปกรณ์พิเศษภายหลัง มี วิสุทธิมัคค์ และ อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น มีคำอธิบายโดยพิสดาร

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น