อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์แปดประการ อันประเสริฐ”
— Aññhaïgika-magga: the Noble
Eightfold Path); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ — factors or
constituents of the Path) มีดังนี้
๑.
สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ
รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Sammàdiññhi: Right View; Right Understanding)
๒.
สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์
—Sammàsaïkappa: Right Thought)
ดู กุศลวิตก ๓
๓.
สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ — Sammàvàcà:
Right Speech)
๔.
สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ — Sammàkammanta: Right Action)
๕.
สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Sammà-àjãva: Right Livelihood)
๖.
สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ — Sammàvàyàma: Right Effort)
๗.
สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ — Sammàsati:
Right Mindfulness)
๘.
สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ — Sammàsamàdhi:
Right Concentration)
องค์
๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓, ๔, ๕ เป็น ศีล ข้อ ๖,
๗, ๘ เป็นสมาธิ ข้อ ๑, ๒
เป็น ปัญญา ดูสิกขา ๓; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
มรรคมีองค์
๘ นี้ เป็นอริยสัจจ์ ข้อที่ ๔ และได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า “ทางสายกลาง”
เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา
ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น