อายตนะ ๑๒ (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้,
แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้ — âyatana: sense-fields;
sense-spheres)
๑. จักขุ (จักษุ, ตา — Cakkhu:
the eye)
๒. โสตะ (หู — Sota: the ear)
๓. ฆานะ (จมูก — Ghàna: the nose)
๔. ชิวหา (ลิ้น — Jivhà: the tongue)
๕. กาย (กาย — Kàya: the body)
๖. มโน (ใจ — Mana: the mind)
ทั้ง ๖ นี้ เรียกอีกอย่างว่า
อินทรีย์ ๖ เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุ เป็นเจ้าการในการเห็น
เป็นต้น
๗. รูปะ (รูป, สิ่งที่เห็น
หรือ วัณณะ คือสี — Råpa: form; visible objects)
๘. สัททะ (เสียง — Sadda: sound)
๙. คันธะ (กลิ่น — Gandha: smell; odour)
๑๐. รสะ (รส — Rasa: taste)
๑๑. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย
— Phoññhabba: touch; tangible objects)
๑๒. ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ,
สิ่งที่ใจนึกคิด — Dhamma: mindobjects)
ทั้ง ๖ นี้ เรียกทั่วไปว่า อามรณ์ ๖ คือ เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดเหนี่ยว
ทั้ง ๖ นี้ เรียกทั่วไปว่า อามรณ์ ๖ คือ เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดเหนี่ยว
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น